ไฟฟ้า คือสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของเรา การเข้าใจหน่วยวัดปริมาณทางไฟฟ้าจึงมีความสำคัญ ช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์การใช้ไฟฟ้า คำนวณค่าไฟ และเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เหมาะสม บทความนี้จะแนะนำหน่วยวัดปริมาณไฟฟ้าพื้นฐานที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อให้รู้ว่าแต่ละหน่วยวัดคืออะไร และใช้ไฟฟ้าได้อย่างถูกวิธีมากขึ้น
หน่วยวัดปริมาณไฟฟ้า คือ มาตรวัดที่ใช้ในการแยกหน่วยของระบบไฟฟ้า และใช้ในการวัดปริมาณทางไฟฟ้า ซึ่งหน่วยวัดทางไฟฟ้าดังกล่าวเป็นมาตรฐานสากล โดยจะมีอยู่ในหลายหน่วย เช่น แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานทางไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า และความถี่ โดยผู้ใช้สามารถนำเอาข้อมูลหน่วยไฟฟ้าเหล่านี้ ไปใช้ในการควบคุมและวิเคราะห์การทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเลือกใช้ฟิวส์หรือเบรกเกอร์ที่เหมาะสม
การวัดปริมาณทางไฟฟ้า เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ทำความเข้าใจและจัดการกับระบบไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในชีวิตประจำวันหรือในงานอุตสาหกรรม การรู้จักหน่วยวัดต่าง ๆ จะช่วยให้เลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยวัดปริมาณทางไฟฟ้าที่เป็นหน่วยไฟฟ้ามาตรฐานสากลมีอยู่ 6 หน่วยหลัก ดังนี้
แรงดันไฟฟ้า หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดจากการสะสมตัวของประจุไฟฟ้าระหว่างจุดสองจุด เพื่อเป็นแรงที่ผลักดันให้กระแสไฟฟ้าไหลในวงจร ยิ่งแรงดันสูง กระแสไฟฟ้าก็จะไหลได้แรงขึ้น โดยมีหน่วยเป็น โวลต์ (สัญลักษณ์: V)
กระแสไฟฟ้า คือ ปริมาณอิเล็กตรอนที่ไหลผ่านจุดใดจุดหนึ่งในวงจรต่อหนึ่งหน่วยเวลา จากวัตถุที่มีประจุลบไปยังวัตถุที่มีประจุบวก โดยหน่วยวัดกระแสไฟฟ้าที่เราใช้กันทั่วไปคือ แอมแปร์ (Ampere) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์: A)
ความต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โอห์ม (สัญลักษณ์ : Ω) คือ คุณสมบัติของวัสดุในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า เปรียบได้กับความฝืดในท่อที่ทำให้น้ำไหลช้าลง วัสดุที่มีความต้านทานสูงจะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้น้อย ในขณะที่วัสดุที่มีความต้านทานต่ำ เช่น โลหะ จะยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย
กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์ (สัญลักษณ์ : W) คือ ค่าที่แสดงถึงอัตราการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงของพลังงาน ที่บอกให้เรารู้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้าใช้พลังงานมากน้อยเพียงใด
พลังงานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์ชั่วโมง หรือ ยูนิต (สัญลักษณ์: Wh) คือ ค่าที่แสดงถึงการใช้กำลังไฟฟ้าที่ถูกใช้ในช่วงเวลาหนึ่ง มักวัดในหน่วยวัตต์ชั่วโมง หรือกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ซึ่งเรียกว่า "ยูนิต" ในการคิดค่าไฟฟ้า เช่น หากใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด 1,000 วัตต์ (1 กิโลวัตต์) เป็นเวลา 1 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้า 1 กิโลวัตต์ชั่วโมง หรือ 1 ยูนิต
ความถี่ มีหน่วยเป็น เฮิรตซ์ (สัญลักษณ์ : Hz) คือ ค่าที่ใช้ในการวัดความถี่หรือวัดจำนวนรอบของกระแสไฟฟ้าสลับต่อวินาที ไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งมีความถี่ 50 หรือ 60 เฮิรตซ์ (ขึ้นอยู่กับพื้นที่ / ประเทศ) ซึ่งหากเลือกค่าความถี่ที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้อุปกรณ์ทำงานผิดปกติหรือเสียหายได้ การเข้าใจหน่วยวัดจะช่วยให้สามารถเลือกสายไฟที่เหมาะสมกับการใช้งานได้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด ควรปรึกษาช่างไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตหรือวิศวกรไฟฟ้าเพิ่มเติมเสมอ เมื่อทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า
การเลือกขนาดสายไฟที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญในการติดตั้งระบบไฟฟ้า เพราะมีผลต่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการส่งกระแสไฟฟ้า ในปัจจุบัน ทั่วโลกมีหน่วยวัดขนาดสายไฟที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับภูมิภาคและมาตรฐานที่ใช้ โดยมี 3 หน่วยวัดหลักที่ควรรู้จัก ดังนี้
เมื่อรู้จักหน่วยวัดปริมาณทางไฟฟ้าและขนาดของสายไฟกันไปแล้ว ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้สามารถเลือกสายไฟที่เหมาะสมกับการใช้งาน และมีความปลอดภัยสูงสุด และหากคุณกำลังมองหาสายไฟที่ได้มาตรฐานมาเลือกช็อปสายไฟที่เหมาะกับการใช้งานได้อย่างมั่นใจ เพียงปรึกษาและเลือกซื้อที่ STS Thonburi บริษัทขายสายไฟจากหลายแบรนด์ชั้นนำ เช่น ไทยยูเนี่ยน (Thai Union), PKS และ FUHRER คุณภาพดี พร้อมบริการจัดส่งทั่วประเทศ
หากไม่รู้จะต้องเลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อกับเราได้เลย พร้อมบริการจัดส่งให้ถึงที่ทั่วประเทศ !
แหล่งอ้างอิง