เพราะสัญลักษณ์วงจรไฟฟ้าเป็นเรื่องพื้นฐานที่ช่างไฟจำเป็นต้องรู้ หรือแม้ไม่ใช่ช่างไฟ เป็นผู้อยู่อาศัย หรือผู้ดูแลระบบที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าก็ควรให้ความสนใจ เนื่องจากสัญลักษณ์ดังกล่าวเป็นตัวแทนของสิ่ง ๆ ต่างในวงจร เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า แหล่งจ่ายไฟฟ้า การต่อวงจร ตลอดจนการลงกราวนด์ และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งในบทความนี้เราจะพาไปทำความรู้จักกับสัญลักษณ์วงจรไฟฟ้าทั้งหมดกัน !
สัญลักษณ์วงจรไฟฟ้า คืออะไร ?
สัญลักษณ์วงจรไฟฟ้า คือรูปภาพหรือเครื่องหมายที่ใช้แทนอุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบต่าง ๆ ในวงจรไฟฟ้า เปรียบเสมือนภาษาสากลที่ช่วยให้วิศวกร นักออกแบบ ช่างไฟฟ้า และบุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจ สื่อสาร และวิเคราะห์การทำงานของวงจรไฟฟ้าได้ตรงกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าที่ควรรู้
- ช่วยให้เข้าใจการทำงานของวงจรไฟฟ้า เพราะสัญลักษณ์ทางไฟฟ้าเป็นตัวแทนบ่งบอกถึงหน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นภายในวงจร ทำให้ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า สามารถอ่านและนำไปวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า จุดเชื่อมต่อ ตลอดจนฟังก์ชันการทำงานของวงจร เป็นต้น
- องค์ประกอบสำคัญในการออกแบบและเขียนวงจรไฟฟ้า เพราะสัญลักษณ์เหล่านี้ถูกใช้แทนอุปกรณ์แต่ละชนิดในวงจร โดยเขียนออกมาในรูปแบบของภาพ ทำให้สามารถอ่านและเข้าใจได้ง่ายดาย ใช้ได้ทั้งในแบบวงจรภายในบ้าน ตลอดจนระบบไฟฟ้าที่ซับซ้อนของโรงงานอุตสาหกรรม
- เป็นเครื่องมือช่วยวิเคราะห์ปัญหาและแก้ไข เมื่อเกิดปัญหาในวงจรไฟฟ้า สัญลักษณ์ทางไฟฟ้าจะเปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์หาสาเหตุ โดยช่างไฟฟ้าจะสามารถหาจุดบกพร่องได้จากสัญลักษณ์บนแผงวงจร พร้อมระบุอุปกรณ์ที่ขัดข้อง หาสาเหตุของปัญหาเบื้องต้น เพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ
รวมสัญลักษณ์วงจรไฟฟ้าและความหมาย
1. สัญลักษณ์สายและการต่อสาย
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจรไฟฟ้า | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
---|
สาย (wire) | | ทำหน้าที่ให้กระแสไฟไหลผ่านจากส่วนหนึ่งไปส่วนอื่นของวงจร |
---|
จุดต่อสาย | | แสดงจุดเชื่อมต่อของสายไฟ แต่ในกรณีที่ในวงจรมีสายต่อตัดกันเป็นสี่แยก จะต้องเขียนรูปตัว T สองตัวต่อกันแบบกลับหัว และเหลื่อมกันเล็กน้อย |
---|
สายไม่ต่อกัน | | สัญลักษณ์วงจรไฟฟ้าที่ใช้ในวงจรที่ซับซ้อน มีสายไฟเยอะ โดยจะใช้แสดงแทนสายไฟที่ตัดกัน แต่ไม่ได้เชื่อมต่อกัน |
---|
2. แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจรไฟฟ้า | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
---|
เซลล์ | | แทนแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ทำหน้าที่จ่ายพลังงานไฟฟ้าให้วงจร |
---|
แบตเตอรี่ | | ใช้แทนแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า แบบแบตเตอรี่ แสดงให้เห็นว่ามีมากกว่า 1 เซลล์ต่อเข้าด้วยกัน |
---|
ป้อนไฟตรง(DC) | | ใช้แทนลักษณ์การจ่ายกำลังไฟแบบกระแสตรง DC = ไฟกระแสตรง ไหลทิศทางเดียวเสมอ |
---|
ป้อนไฟสลับ(AC) | | ใช้แทนสัญลักษณ์การจ่ายกำลังไฟแบบกระแสตรง AC = ไฟกระแสสลับ เปลี่ยนทิศทางการไหลตลอด |
---|
ฟิวส์ | | แทนฟิวส์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์นิรภัยชนิดหนึ่ง สำหรับใช้ป้องกันการลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า |
---|
หม้อแปลง | | สัญลักษณ์ขดลวดสองขดเชื่อมกันด้วยแกนเหล็ก ใช้แทนหม้อแปลง |
---|
ดิน (Earth) (กราวนด์) | | แทนสายกราวนด์ ต่อลงดิน ตามข้อบังคับของการไฟฟ้านครหลวง สายดินใช้ติดตั้งเพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้งานไฟฟ้า |
---|
3. อุปกรณ์หลอดไฟ, ไส้ความร้อน ,มอเตอร์ และอีกมากมาย
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
---|
หลอด (แสงสว่าง) | | แทนหลอดไฟ แหล่งกำเนิดแสงสว่าง |
---|
หลอด (ตัวชี้) (Indicator) | | แทนหลอดที่เป็นตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นแสง สัญลักษณ์ ใช้สำหรับเป็นหลอดตัวชี้บอก เช่น หลอดไฟเตือนบนหน้าปัดรถยนต์ หรือหน้าเครื่องบันทึก กล้องวงจรถูกปิด เป็นต้น |
---|
ตัวทำความร้อน (Heater) | | แทนอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแปลงพลังงานไฟฟ้า ให้เป็นความร้อน |
---|
มอเตอร์ | | แทนตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานจล (หมุน) |
---|
กระดิ่ง (Bell) | | ใช้แทนอุปกรณ์ตัวแปลงพลังงานไฟฟ้าให้เป็นเสียง |
---|
ตัวเหนี่ยวนำ | | สัญลักษณ์ที่ใช้แทนตัวเหนี่ยวนำ อาทิ ขดลวด หรือโซลินอยด์ ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน แปลงพลังงานไฟฟ้าให้กลายเป็นพลังงานกลได้ |
---|
4. สัญลักษณ์วงจรไฟฟ้าแทนสวิตช์
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
---|
สวิตช์กดต่อ | | ใช้แทนสวิตช์แบบกด ทำหน้าที่ให้กระแสไฟไหลผ่าน เมื่อมีการกดลงบนอุปกรณ์ เช่น สวิตช์กริ่งประตูบ้าน เป็นต้น |
---|
สวิตช์กดตัด | | ใช้แทนสวิตช์แบบกด ทำหน้าที่แตกต่างจากสวิตช์แบบกดต่อ แต่จะทำหน้าที่ตัดและต่อวงจรทางไฟฟ้า โดยนิยมใช้ในการควบคุมการทำงานของมอเตอร์ เป็นต้น |
---|
สวิตช์ปิดเปิด (SPST) | | แทนสวิตช์แบบ SPST (Single Pole Single Throw) เป็นสวิตช์ทั่วไปที่ใช้สำหรับเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า |
---|
สวิตช์สองทาง (SPDT) | | แทนสวิตช์แบบ SPDT (Single Pole Double Throw) ซึ่งเป็นสวิตช์สองทาง เลือกการทำงานได้ 2 รูปแบบ ประกอบไปด้วย 3 เทอร์มินอล คือ input 1 ขา และ output 2 ขา เหมาะสำหรับใช้ในการสลับการทำงานระหว่างวงจรสองวงจร |
---|
สวิตช์ปิดเปิดคู่ (DPST) | | แทนสวิตช์แบบ DPST (Double Pole Single Throw) ประกอบไปด้วย 4 เทอร์มินอล คือ input 2 ขา และ output 2 ขา ตัวอย่างการใช้งานที่มักพบเห็นได้ในอุปกรณ์คัทเอาท์ |
---|
สวิตช์สองทางคู่ (DPDT) | | แทนสวิตช์แบบ DPDT (Double Pole Double Throw) สวิตช์สองทางแบบคู่ สามารถตัดต่อวงจรการทำงานได้พร้อมกันถึง 2 วงจรในเวลาเดียวกัน ประกอบไปด้วย 6 เทอร์มินอล คือ input 2 ขา และ output 4 ขา ใช้เป็นสวิตช์ควบคุมทิศทางการหมุนของมอเตอร์ |
---|
รีเลย์ | | ใช้แทนสวิตช์รีเลย์ ทำงานได้เมื่อมีไฟ เช่น 12 โวลท์ 24 โวลท์ มาป้อนให้ขดลวดแกนเหล็ก ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ต่อวงจรหรือตัดวงจร NO = ปกติตัด COM = ขาร่วม NC = ปกติต่อ |
---|
5. สัญลักษณ์วงจรไฟฟ้าแทนตัวต้านทาน
อุปกรณ์ | สัญลักษณ์วงจร | หน้าที่ของอุปกรณ์ |
---|
ตัวต้านทาน | | ใช้แทนตัวต้านทานกระแสไฟ ทำหน้าที่ต้านการไหลของกระแส เช่น การใช้ตัวต้านทานต่อเพื่อจำกัดกระแสที่ไหลผ่าน LED |
---|
ตัวต้านทานปรับค่าได้ (rheostat) | | ใช้แทนอุปกรณ์ต้านทานที่ปรับค่าได้แบบ rheostat ใช้สำหรับปรับกระแส ตัวอย่างเช่น ปรับความสว่างของหลอดไฟ, ปรับความเร็วมอเตอร์, และปรับอัตราการไหลของประจุเข้าในตัวเก็บประจุ เป็นต้น |
---|
ตัวต้านทานปรับค่าได้ (Potentiometer) | | ใช้แทนอุปกรณ์ต้านทานไฟฟ้า ปรับค่าได้ชนิดมีสามคอนแทค (Potentiometer) สามารถเปลี่ยนแปลงความต้านทานตั้งแต่ 0 - 10k ohm ด้วยการหมุนปรับแกน Wiper เหมาะสำหรับการนำไปใช้ควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือการป้อน input ในลักษณะข้อมูล Analog ใช้สำหรับการหรี่ไฟ "Dim" LED |
---|
ได้ทำความเข้าใจกับสัญลักษณ์วงจรไฟฟ้าทั้งหมดกันไปแล้ว แต่การจะออกแบบและติดตั้งระบบให้ปลอดภัย สัญลักษณ์ไม่ได้เป็นเพียงตัวแปรเดียวที่ตอบโจทย์เท่านั้น แต่สายไฟที่ได้มาตรฐานยังเป็นอีกหนึ่งสิ่งจำเป็นอย่างมากในระบบไฟฟ้าด้วยเช่นกัน
ไว้วางใจเลือกซื้อสายไฟและอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบไฟฟ้าที่ปลอดภัยได้ที่ STS Thonburi บริษัทขายส่งสายไฟจากแบรนด์ชั้นนำมากมาย เช่น ขายสายไฟ Thai Union, สายไฟ Fuhrer, สายไฟ PKS และอื่น ๆ อีกมากมาย ในราคาที่เหมาะสม พร้อมให้คำปรึกษาอย่างละเอียดทุกการซื้อขาย สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อกับเราได้เลย
แหล่งอ้างอิง
- สัญลักษณ์ที่ใช้ในวงจร (Circuit Symbols). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 จาก https://icelectronic.com/beginner/study/symbol.htm
- เจาะลึก 4 หน้าสัมผัสของสวิตช์ที่คุณควรรู้ . สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 จาก https://misumitechnical.com/technical/electrical/4-type-spst-spdt-dpst-dpdt/