เปิดสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้า มาตรฐานสากล NEC

สัญลักษณ์ไฟฟ้าในการเขียนแบบคืออะไร สำคัญอย่างไร

แม้ไม่ใช่ช่างไฟ แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย ! เพราะสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะมาตรฐานสากลหรือไทยต่างก็เป็นจุดสำคัญที่บ่งบอกถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในวงจร และแสดงเป็นแผนภาพซึ่งมีความจำเป็นมาก ๆ หากต้องซ่อมแซมวงจรไฟฟ้าในที่พักอาศัย

รู้จักสัญลักษณ์ไฟฟ้าในการเขียนแบบ

สัญลักษณ์ไฟฟ้าในการเขียนแบบ คือรูปภาพหรือเครื่องหมายที่ใช้แทนอุปกรณ์ ชิ้นส่วน หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ในวงจรไฟฟ้า แต่ละสัญลักษณ์จะมีความหมายเฉพาะของตัวเอง ช่วยให้วิศวกร นักออกแบบ และช่างไฟฟ้าสามารถสื่อสารและเข้าใจการทำงานของวงจรไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง

ความสำคัญในการทำความเข้าใจสัญลักษณ์ไฟฟ้า

สัญลักษณ์ไฟฟ้าในการเขียนแบบมีความสำคัญอย่างมากต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร นักออกแบบ ช่างไฟฟ้า หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป โดยมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้

  • เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน เพราะสัญลักษณ์ไฟฟ้าเปรียบเสมือนภาษาสากล ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจการทำงานของวงจรไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นการแสดงถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งภายในระบบไฟฟ้านั่นเอง
  • ช่วยลดความเสี่ยงจากการต่อวงจรไฟฟ้าผิดพลาด และป้องกันอันตรายที่อาจเกิดต่อผู้ปฏิบัติงานทางไฟฟ้า ผู้ใช้งาน และความเสียหายต่ออุปกรณ์ไฟฟ้า
  • ช่วยให้ประหยัดเวลาในการออกแบบ ติดตั้ง และตรวจสอบวงจรไฟฟ้า

สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล NEC สำหรับที่พักอาศัย

สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล NEC (National Electric Code) นั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป ที่ใช้ในบ้านพักอาศัย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

1. สัญลักษณ์ของหลอดแสงสว่าง (Lighting Symbols)

ไฟติดเพดาน (Surface Ceiling Light)
ไฟฝังเพดาน (Recess Ceiling Light)
โคมไฟห้อย (Drop Cord Light)
โคมไฟในสวน (Weatherproof Landscape Light)
โคมไฟพัดลมติดเพดาน (Ceiling Fan Light)
โคมไฟผนัง (Wall Light)
โคมไฟแถว (Multi-Light Bar)
โคมไฟแถวปรับมุมได้ (Track Light)
หลอดฟลูออเรสเซนส์ฝังฝ้าเพดาน  (Troffer Fluorescent Light)
หลอดฟลูออเรสเซนส์ติดฝ้าเพดาน  (Surface Fluorescent Light)

 

2. สัญลักษณ์ของสวิตช์ (Switch Symbols)

สวิตช์ (Switch)
สวิตช์ 3 ทาง (3-Way Switch)
สวิตช์ 4 ทาง (4-Way Switch)
สวิตช์หรี่ไฟ (Dimmer Switch)

 

3. สัญลักษณ์ของเต้ารับ (Outlet Symbols)

เต้ารับทั่วไป (Outlet)
เต้ารับมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว GFI Outlet
(Ground fault Interrupter Protected)
เต้ารับมีสวิตช์ควบคุม (Switched Outlet)
เต้ารับแบบกันน้ำ (Waterproof Outlet)
เต้ารับ 4 เต้า (Quad Outlet)
เต้ารับฝังพื้น (Floor Outlet)

4. สัญลักษณ์ของอุปกรณ์สื่อสาร (Communication Symbols)

อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoked Detector)
เต้ารับโทรศัพท์ (Telecom Outlet)
เต้ารับสัญญาณสเตริโอ (Stereo Outlet)
เต้ารับสายอากาศโทรทัศน์ (Television Outlet)
กระดิ่งไฟฟ้า (Doorbell Chime)
หม้อแปลงกระดิ่งไฟฟ้า (Doorbell Transformer)
อุปกรณ์ปรับอุณหภูมิ (Thermostat)
สวิตช์กระดิ่ง (Doorbell button)

5. สัญลักษณ์ของแผงจ่ายไฟฟ้า (Panel Symbols)

ตู้ควบคุมวงจรแสงสว่าง
(Lighting panel หรือ Service Panel)
ตู้ควบคุมหลัก
(Distribution panel หรือ Power Panel)
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)
มอเตอร์ (Motor)
ตู้ควบคุมมอเตอร์ (Controller)

เทคนิคการอ่านวงจรไฟฟ้า สัญลักษณ์เขียนแบบไฟฟ้าใน AutoCad

หลังจากที่ได้รู้จักสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล NEC กันไปแล้ว ทีนี้ลองมาดูเทคนิคการอ่านแบบวงจรไฟฟ้ากันดีกว่า เพราะนอกเหนือจากสัญลักษณ์ที่ต้องเข้าใจเป็นพื้นฐานแล้ว แบบของวงจรไฟฟ้าก็ยังมีองค์ประกอบอีกมาก ที่คุณจะต้องเรียนรู้ เพื่ออ่านให้เข้าใจอย่างชัดเจน

  • เข้าใจประเภทของแบบไฟฟ้าเสียก่อน

เพราะการเขียนแบบซึ่งเป็นแนวทางของการซ่อมบำรุง และจัดวางระบบไฟฟ้านั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ แต่โดยพื้นฐานแล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้

- แบบงานจริง : แบบไฟฟ้าเสมือนจริงที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะภายนอกของการติดตั้งทั้งหมด โดยจะเขียนมาในรูปลักษณ์ของอุปกรณ์การติดตั้งจริงนั่นเอง
- แบบไดอะแกรมแผนผัง : แสดงถึงการเดินทางของกระแสไฟฟ้าที่ส่งไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ช่างไฟฟ้าได้เห็นหรือทราบถึงวงจรในระบบไฟฟ้านั้น ๆ เพื่อจะได้ทำการติดตั้งหรือซ่อมแซมได้อย่างเหมาะสม
- แบบไดอะแกรมเส้นเดียว : เป็นแบบไฟฟ้าลักษณะคล้ายแบบงานจริง แต่จะแตกต่างกันตรงที่การเขียน ซึ่งจะเขียนออกมาแค่เส้นเดียวแทนสายไฟ ไว้สำหรับดูตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์
- แบบไดอะแกรมวงจรไฟฟ้า : แบบไฟฟ้าที่แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ทั้งหมดในการเขียนแบบทางไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งการติดตั้ง หรือการต่อวงจรไฟฟ้าต่าง ๆ ซึ่งอุปกรณ์ของจริงภายในแบบไฟฟ้า จะถูกแทนที่ด้วยสัญลักษณ์ไฟฟ้าในการเขียนแบบนั่นเอง

 

  • ทำความเข้าใจสัญลักษณ์
    นอกจากการเรียนรู้ประเภทของแบบงานเขียนไฟฟ้าแล้ว อย่าลืมศึกษาสัญลักษณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในแบบ โดยสามารถหาข้อมูลสัญลักษณ์ไฟฟ้าในการเขียนแบบได้จากมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้า มาตรฐานสากล NEC เป็นต้น
  • เรียนรู้การวิเคราะห์องค์ประกอบ
    เพราะในงานเขียนแบบไฟฟ้า สัญลักษณ์ต่าง ๆ จะใช้แทนการระบุองค์ประกอบภายในของระบบไฟฟ้า เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้า สายไฟ จุดต่อสาย อุปกรณ์ควบคุม ฯลฯ ดังนั้น จึงต้องหมั่นทำความเข้าใจให้ดี เพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบไปกับการดูแผนผัง ที่จะใช้ในการซ่อม บำรุง หรือปรับเปลี่ยนระบบไฟฟ้านั่นเอง
  • ติดตามเส้นทางการเดินสายไฟในแบบระบบไฟฟ้า
    หลังจากการวิเคราะห์องค์ประกอบภายในระบบไฟฟ้าแล้ว อย่าลืมวิเคราะห์เส้นทางของสายไฟในระบบ จะได้เข้าใจการเชื่อมต่อของวงจร และการส่งกระแสไฟฟ้าของระบบนั้น ๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบการซ่อมบำรุงและรักษาระบบไฟฟ้าตามความเหมาะสม
  • ตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องในแบบระบบไฟฟ้า
    ท้ายที่สุดอย่าลืมทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ บนแบบงานเขียนระบบไฟฟ้าให้ถี่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของขนาดสายไฟ ข้อมูลอุปกรณ์ ฯลฯ เพื่อหาสเปกที่ถูกต้อง เผื่อต้องใช้ในการซ่อมบำรุงวงจรและระบบไฟฟ้านั่นเอง

 

หากใครที่ต้องการอ่านแบบ เพราะการจ่ายไฟมีปัญหา แล้วพบสายเมนกำลังชำรุด และต้องการเปลี่ยนสายเมนทองแดงใหม่ เพื่อให้กระแสไฟจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกและรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้เลยที่ STS Thonburi แหล่งจำหน่ายสายเมนไฟฟ้า ทั้งสาย NYY, CV และ THW รวมถึงสายไฟอีกหลากหลายประเภทที่ทนกระแสไฟได้ดี มีมาตรฐาน ในราคาที่เหมาะสม พร้อมให้คำปรึกษาอย่างละเอียดทุกการซื้อขาย สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อกับเราได้เลย !

 

แหล่งอ้างอิง

  1. แบบไฟฟ้า มีกี่ประเภทกันนะ?. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.changfi.com/fix/2021/12/29/14562/
  2. สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบไฟฟ้า. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2567 จาก https://g-tech.ac.th/vdo/moterdoc/เขียนแบบไฟฟ้า/บทที่ 1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบไฟฟ้า.pdf

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้