แม้ไม่ใช่ช่างไฟ แต่รู้ไว้ก็ไม่เสียหาย ! เพราะสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะมาตรฐานสากลหรือไทยต่างก็เป็นจุดสำคัญที่บ่งบอกถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในวงจร และแสดงเป็นแผนภาพซึ่งมีความจำเป็นมาก ๆ หากต้องซ่อมแซมวงจรไฟฟ้าในที่พักอาศัย
สัญลักษณ์ไฟฟ้าในการเขียนแบบ คือรูปภาพหรือเครื่องหมายที่ใช้แทนอุปกรณ์ ชิ้นส่วน หรือองค์ประกอบต่าง ๆ ในวงจรไฟฟ้า แต่ละสัญลักษณ์จะมีความหมายเฉพาะของตัวเอง ช่วยให้วิศวกร นักออกแบบ และช่างไฟฟ้าสามารถสื่อสารและเข้าใจการทำงานของวงจรไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง
สัญลักษณ์ไฟฟ้าในการเขียนแบบมีความสำคัญอย่างมากต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานด้านไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นวิศวกร นักออกแบบ ช่างไฟฟ้า หรือแม้แต่บุคคลทั่วไป โดยมีสาเหตุหลัก ๆ ดังนี้
สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล NEC (National Electric Code) นั้น เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบไฟฟ้าทั่ว ๆ ไป ที่ใช้ในบ้านพักอาศัย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม คือ
![]() | ไฟติดเพดาน (Surface Ceiling Light) |
![]() | ไฟฝังเพดาน (Recess Ceiling Light) |
![]() | โคมไฟห้อย (Drop Cord Light) |
![]() | โคมไฟในสวน (Weatherproof Landscape Light) |
![]() | โคมไฟพัดลมติดเพดาน (Ceiling Fan Light) |
![]() | โคมไฟผนัง (Wall Light) |
![]() | โคมไฟแถว (Multi-Light Bar) |
![]() | โคมไฟแถวปรับมุมได้ (Track Light) |
![]() | หลอดฟลูออเรสเซนส์ฝังฝ้าเพดาน (Troffer Fluorescent Light) |
![]() | หลอดฟลูออเรสเซนส์ติดฝ้าเพดาน (Surface Fluorescent Light) |
![]() | สวิตช์ (Switch) |
![]() | สวิตช์ 3 ทาง (3-Way Switch) |
![]() | สวิตช์ 4 ทาง (4-Way Switch) |
![]() | สวิตช์หรี่ไฟ (Dimmer Switch) |
![]() | เต้ารับทั่วไป (Outlet) |
![]() | เต้ารับมีอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว GFI Outlet (Ground fault Interrupter Protected) |
![]() | เต้ารับมีสวิตช์ควบคุม (Switched Outlet) |
![]() | เต้ารับแบบกันน้ำ (Waterproof Outlet) |
![]() | เต้ารับ 4 เต้า (Quad Outlet) |
![]() | เต้ารับฝังพื้น (Floor Outlet) |
![]() | อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoked Detector) |
![]() | เต้ารับโทรศัพท์ (Telecom Outlet) |
![]() | เต้ารับสัญญาณสเตริโอ (Stereo Outlet) |
![]() | เต้ารับสายอากาศโทรทัศน์ (Television Outlet) |
![]() | กระดิ่งไฟฟ้า (Doorbell Chime) |
![]() | หม้อแปลงกระดิ่งไฟฟ้า (Doorbell Transformer) |
![]() | อุปกรณ์ปรับอุณหภูมิ (Thermostat) |
![]() | สวิตช์กระดิ่ง (Doorbell button) |
![]() | ตู้ควบคุมวงจรแสงสว่าง (Lighting panel หรือ Service Panel) |
![]() | ตู้ควบคุมหลัก (Distribution panel หรือ Power Panel) |
![]() | เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) |
![]() | มอเตอร์ (Motor) |
![]() | ตู้ควบคุมมอเตอร์ (Controller) |
หลังจากที่ได้รู้จักสัญลักษณ์ในงานเขียนแบบไฟฟ้าตามมาตรฐานสากล NEC กันไปแล้ว ทีนี้ลองมาดูเทคนิคการอ่านแบบวงจรไฟฟ้ากันดีกว่า เพราะนอกเหนือจากสัญลักษณ์ที่ต้องเข้าใจเป็นพื้นฐานแล้ว แบบของวงจรไฟฟ้าก็ยังมีองค์ประกอบอีกมาก ที่คุณจะต้องเรียนรู้ เพื่ออ่านให้เข้าใจอย่างชัดเจน
เพราะการเขียนแบบซึ่งเป็นแนวทางของการซ่อมบำรุง และจัดวางระบบไฟฟ้านั้น มีอยู่ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ แต่โดยพื้นฐานแล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ประเภท ดังนี้
หากใครที่ต้องการอ่านแบบ เพราะการจ่ายไฟมีปัญหา แล้วพบสายเมนกำลังชำรุด และต้องการเปลี่ยนสายเมนทองแดงใหม่ เพื่อให้กระแสไฟจ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกและรับคำแนะนำเพิ่มเติมได้เลยที่ STS Thonburi แหล่งจำหน่ายสายเมนไฟฟ้า ทั้งสาย NYY, CV และ THW รวมถึงสายไฟอีกหลากหลายประเภทที่ทนกระแสไฟได้ดี มีมาตรฐาน ในราคาที่เหมาะสม พร้อมให้คำปรึกษาอย่างละเอียดทุกการซื้อขาย สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อกับเราได้เลย !
แหล่งอ้างอิง