ชวนรู้จักการติดตั้ง EV Charger แบบวงจรที่ 2

การเดินไฟที่ชาร์จ EV ในบ้าน

ในปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ากำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ หลายคนเริ่มมองหารถไฟฟ้ามาเป็นรถส่วนตัว แต่สิ่งหนึ่งที่หลายคนกังวลคือเรื่องการชาร์จไฟรถ ซึ่ง "การติดตั้ง EV Charger แบบวงจรที่ 2" เป็นรูปแบบการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ในวันนี้ขอชวนผู้ประกอบการที่ต้องการติดตั้งสถานีชาร์จรถ EV ในโครงการหมู่บ้านมาทำความรู้จักกับระบบไฟฟ้าวงจร 2 กันว่าคืออะไร และต้องติดตั้งอย่างไรให้เป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้า

การติดตั้งระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 คืออะไร ?

สำหรับผู้ใช้รถพลังงานไฟฟ้า หรือรถ EV ขั้นตอนการติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน ให้เป็นไปตามมาตรฐานของการไฟฟ้าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งหนึ่งในรูปแบบยอดนิยมคือ การเดินระบบไฟฟ้าแบบวงจร 2 ที่ไม่ต้องยุ่งกับระบบไฟฟ้าเดิม ทำให้ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในปัจจุบัน

ระบบไฟฟ้าวงจร 2 คือ การเดินวงจรใหม่คู่ขนานกับวงจรเดิม โดยเป็นการเดินระบบไฟฟ้าจากมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านมายังตู้ไฟโรงจอดรถ เป็นวงจรแยกต่างหากสำหรับชาร์จรถไฟฟ้า ช่วยให้การชาร์จไฟมีความปลอดภัย ไม่ไปรบกวนการใช้งานไฟฟ้าในบ้าน สามารถรองรับการชาร์จไฟที่รวดเร็ว และสามารถควบคุมค่าไฟได้ง่ายขึ้น

ข้อดีของการติดตั้ง EV Charger แบบวงจรที่ 2

ความปลอดภัย : การแยกวงจรไฟฟ้าสำหรับชาร์จรถไฟฟ้า ช่วยลดความเสี่ยงต่อไฟฟ้าลัดวงจร และป้องกันปัญหาไฟฟ้าเกินพิกัด

ประสิทธิภาพ : วงจรที่ 2 รองรับการชาร์จไฟที่รวดเร็ว โดยไม่ต้องกังวลว่าไฟฟ้าในบ้านจะไม่เพียงพอ

สะดวกสบาย : การติดตั้ง EV Charger ไว้ที่บ้าน ช่วยเพิ่มความสะดวกสบาย ชาร์จไฟได้ทุกเมื่อโดยไม่ต้องพึ่งสถานีชาร์จ

ขั้นตอนการดำเนินงานเดินไฟ EV charger แบบวงจรที่ 2

การติดตั้งระบบไฟวงจรที่ 2 ให้เป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้ง EV charger ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) นั้น จะต้องดำเนินใน 2 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ การขออนุญาต และการเตรียมอุปกรณ์ EV Charger ที่สำคัญ โดยแต่ละส่วนมีรายละเอียดดังนี้

ส่วนที่ 1 : การขออนุญาตการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

  1. ทำเรื่องขอมิเตอร์ชาร์จรถไฟฟ้า โดยต้องใช้มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด 30(100) A ขึ้นไป หรือไปถึงระดับ 50(150) A เพื่อให้เพียงพอสำหรับเดินไฟที่ชาร์จรถ EV
  2. การทำวงจรที่ 2 ติดตั้งระบบไฟตามมาตรฐานการไฟฟ้า
  3. ติดตั้งเครื่องชาร์จ EV
  4. แจ้งการไฟฟ้าให้มาตรวจสอบมาตรฐานการติดตั้ง
  5. การไฟฟ้ามาเปลี่ยนมิเตอร์ตัวใหม่ ขนาด 30(100) A

ส่วนที่ 2 : อุปกรณ์การติดตั้ง EV Charger แบบวงจรที่ 2 ที่ต้องมี

  • ตู้ควบคุมไฟฟ้า (MDB) ใช้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าต่าง ๆ โดยควรมีขนาดช่องเพียงพอ สามารถรองรับการติดตั้งเพิ่มในอนาคตได้ และเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มอก. หรือ IEC
  • เซอร์กิตเบรกเกอร์ อุปกรณ์สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า เมื่อตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า โดยควรเลือกที่มีมาตรฐาน มีขนาดกำลังไฟที่เหมาะสมกับการใช้งาน เพื่อการตัดวงจรไฟฟ้าอย่างแม่นยำ
  • สายไฟที่ใช้เดินวงจรเมน ใช้สายไฟที่ทำจากทองแดง มีขนาดสายไฟ 16 มม. ขึ้นไป ชนิด THW และตัวสายไฟต้องทำจากวัสดุไม่ลามไฟ และมีมาตรฐาน มอก. รองรับ
  • หลักดิน แท่งโลหะสำหรับนำไฟฟ้าให้กระจายลงสู่พื้นดิน เลือกใช้อุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานตาม ว.ส.ท. ทำจากแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง แท่งทองแดง หรือแท่งเหล็กอาบสังกะสี มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5/8 นิ้ว สำหรับแท่งเหล็กหุ้มด้วยทองแดง และ 0.625 นิ้ว หรือ 15.87 มม. สำหรับแท่งเหล็กอาบสังกะสี และมียาวไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร
  • เครื่องตัดไฟรั่ว (RDC) อุปกรณ์สำหรับตัดวงจร เมื่อมีค่ากระแสไฟฟ้าไหลเข้า-ออกไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟไหม้
  • อุปกรณ์ระบบไฟ เช่น ท่อ uPVC ไม่ลามไฟ, กล่องกันน้ำ, ข้อต่อ, ข้องอ, ก้ามปู

มาตรฐานการติดตั้ง EV Charger จากการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)

  • ขนาดสายไฟต้องเหมาะสม มีอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร และระบบ Grounding ที่ดี
  • พิกัดกระแสไฟฟ้าของ Main CB ทั้งสองวงจรต้องไม่เกินพิกัดสูงสุดของเครื่องป้องกันกระแสไฟ ตามขนาดที่มิเตอร์ระบุ
  • ติดตั้งป้ายถาวรบริเวณ Main CB ของทั้งสองวงจรเมน
  • ห้ามต่อสายไฟเฟสหรือสายนิวทรัลข้ามระหว่าง 2 วงจร
  • พื้นที่ติดตั้งต้องแห้ง อากาศถ่ายเทสะดวก และห้ามติดตั้งใกล้กับวัสดุไวไฟ
  • เลือกช่างไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตดำเนินการติดตั้ง


สำหรับผู้ประกอบการที่มองหาสายเมนทนกระแส มาที่ STS Thonburi เราเป็นแหล่งจำหน่ายสายเมนไฟฟ้า ทั้งสายไฟ NYY, CV และ THW รวมถึงสายไฟอีกหลากหลายประเภทที่ทนกระแสไฟได้ดี มีมาตรฐาน ในราคาที่เหมาะสม ให้เลือกสรรได้ตามต้องการ เราพร้อมให้คำปรึกษาอย่างละเอียดทุกการซื้อขาย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติม หรือสั่งซื้อกับเราได้เลย พร้อมบริการจัดส่งให้ถึงที่ทั่วประเทศ

 

แหล่งอ้างอิง

  1. ระบบไฟฟ้าวงจรที่ 2 คืออะไร? ต้องติดตั้ง EV Charger ที่บ้าน อย่างไรให้ผ่านมาตรฐานการไฟฟ้า? สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 จาก https://evchargerbydynamo.com/ev-wiring-at-home
  2. MEA กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าสำหรับ EV สืบค้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2567 จาก https://www.mea.or.th/public-relations/corporate-news-activities/announcement/KgKeIAeJj 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้