สำหรับคนที่มีแพลนกำลังจะสร้างบ้าน หรือปรับปรุงบ้านใหม่ นอกจากจะต้องใส่ใจในโครงสร้างแล้ว อย่าลืมให้ความสำคัญกับแบบเดินสายไฟในบ้าน ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการจ่ายกระแสไฟฟ้าและเชื่อมต่อระบบต่าง ๆ ให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย ทั้งยังช่วยลดการใช้พลังงานได้อีกด้วย สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าการเดินสายไฟเข้าบ้านนั้น ควรมีมาตรฐานและข้อกำหนดอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ
มาตรฐานการเดินสายไฟเข้าบ้าน ความปลอดภัยพื้นฐานที่ต้องรู้
มาตรฐานการเดินสายไฟเข้าบ้าน เป็นแนวทางปฏิบัติในการเดินสายไฟสำหรับที่พักอาศัย ซึ่งจะช่วยให้สามารถดำเนินการ พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยมาตรฐานการเดินสายไฟเข้าบ้านในประเทศไทยนั้น ถูกกำหนดโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) ในมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับปี พ.ศ. 2564
ข้อกำหนดด้านการติดตั้งแบบเดินสายไฟในบ้าน
- ชนิดของสายไฟ
ตามข้อกำหนดของมาตรฐานการเลือกใช้ชนิดสายไฟ สำหรับเดินสายไฟเข้าบ้าน ถูกกำหนดเอาไว้ว่า ให้ใช้ชนิดที่มีสายหุ้มฉนวนเป็น PVC ที่ทนไฟ และเป็นสายแรงดันต่ำตามมาตรฐาน มอก. 11-2531 หรือ TIS-11-2531 และสามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 300 โวลต์ - 750 โวลต์ แล้วแต่ระบบเฟส (ระบบ 1 เฟส และระบบ 3 เฟส) ภายในที่พักอาศัย โดยชนิดสายไฟเมนเข้าบ้านที่นิยมใช้กันทั่วไปจะมีอยู่ 3 แบบ ดังนี้- สาย NYY เหมาะกับการติดตั้งที่ไม่มีการป้องกันสายไฟ เพราะเป็นสายที่ช่วยปกป้องสายจากสภาพแวดล้อมได้มากกว่า เช่น การเดินสายไฟฝังดินหรือบนรางเคเบิลที่ไม่มีฝาปิด
- สาย CV เป็นสายที่สามารถนำกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าสาย NYY และใช้ฉนวน XLPE ที่มีความทนทานสูง แต่ควรติดตั้งในบ้านหรืออาคารที่ต้องเดินในช่องเดินสายที่ปิดมิดชิด
- สาย THW (ชนิด 60227 IEC01) และ THW-A : เป็นสายที่มีตัวนำหุ้มฉนวนชั้นเดียว จึงควรติดตั้งด้วยการร้อยท่อหรือเดินในราง Wire Way และสาย THW จะไม่สามารถใช้ติดตั้งแบบฝังดิน และแบบติดตั้งบนรางเคเบิลได้ ข้อดีคือมีหลายสีทำให้เลือกใช้งานได้หลากหลาย โดยเฉพาะระบบไฟ 3 เฟส ตามมาตรฐาน มอก.ไทย
- ขนาดของสายไฟ
ขนาดของสายไฟที่ใช้เดินในบ้าน ตามข้อกำหนดของมาตรฐานฯ จะต้องมีขนาดที่เพียงพอต่อการรองรับกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ใช้งานจริง โดยขนาดของสายไฟจะคำนวณตามกำลังไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ตามสูตร “กระแสไฟฟ้าสูงสุด = กำลังไฟฟ้า / แรงดันไฟฟ้า” หลังจากนั้นให้ตามหาสเป็กที่เหมาะสมกับการใช้งาน
- ระยะห่างของสายไฟ
ในขณะเดียวกัน ระยะห่างระหว่างสายไฟเองก็เป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญ ที่ถูกระบุเอาไว้ในข้อกำหนดของมาตรฐานการเดินสายไฟเข้าบ้าน ตามมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย ฉบับปี พ.ศ. 2564 โดยคำนึงถึงความปลอดภัยจากไฟฟ้าลัดวงจรและไฟฟ้าดูด ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
- ระยะห่างระหว่างรางสายไฟกับพื้นดิน อย่างน้อย 30 เซนติเมตร
- ระยะห่างระหว่างรางสายไฟกับท่อน้ำ อย่างน้อย 10 เซนติเมตร
- ระยะห่างระหว่างรางสายไฟกับท่อแก๊ส อย่างน้อย 5 เซนติเมตร
- ระยะห่างระหว่างรางสายไฟกับท่อประปา อย่างน้อย 3 เซนติเมตร
- ระยะห่างระหว่างรางสายไฟกับผนัง อย่างน้อย 1 เซนติเมตร
- ระยะห่างระหว่างรางสายไฟกับฝ้าเพดาน อย่างน้อย 1 เซนติเมตร
- การติดตั้งสายไฟ
สายไฟที่ใช้เดินเข้าบ้าน จะต้องติดตั้งโดยช่างไฟที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้ได้มาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด โดยการติดตั้งสายไฟตามข้อกำหนด จะต้องมีขั้นตอนดังนี้- เดินสายไฟจากเสาไฟฟ้าไปยังมิเตอร์ไฟฟ้า
- เดินสายไฟจากมิเตอร์ไฟฟ้าไปยังตู้ควบคุมไฟฟ้า
- เดินสายไฟจากตู้ควบคุมไฟฟ้าไปยังเต้ารับและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ภายในบ้าน
- การต่อสายไฟ
ในส่วนของการต่อสายไฟ ตามมาตรฐานการเดินสายไฟเข้าบ้านนั้น จะต้องเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับประเภทและขนาดของสายไฟ โดยอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปจะได้แก่
- เทอร์มินัลบล็อก : ใช้ต่อสายไฟแบบมีฉนวน
- แค็ปแลน : ใช้ต่อสายไฟแบบเปลือย
- บล็อกต่อสายไฟ : ใช้ต่อสายไฟแบบมีฉนวนหลายเส้นเข้าด้วยกัน
นอกจากนี้ การต่อสายไฟต้องแน่นหนาเพื่อป้องกันไม่ให้สายไฟหลุด หรือหลวม ซึ่งเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การลัดวงจร ไม่เพียงเท่านี้ ยังจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจอยู่เสมอว่าสายไฟที่เดินเอาไว้ จะมีสภาพที่สมบูรณ์ หากมีรอยชำรุดจะต้องรีบเปลี่ยนและซ่อมแซมทันที
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับระบบสายไฟ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน
- ตำแหน่งการติดตั้งสวิตช์และเต้ารับตำแหน่งการติดตั้งสวิตช์และเต้ารับ
ข้อควรพิจารณาตามมาตรฐานการเดินสายไฟเข้าบ้าน อันดับแรกควรโฟกัสถึงตำแหน่งของการตั้งสวิตช์และเต้ารับ จุดจำหน่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน ดังนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมจึงจะต้องเป็นจุดที่ปลอดภัย ติดตั้งเอาไว้ให้สูงเหนือระดับที่น้ำอาจท่วมถึงได้
- ป้องกันความเสี่ยงจากวงจรสายไฟย่อย
สำหรับเต้ารับที่อยู่บริเวณชั้นล่างของบ้าน ที่มีแนวโน้มว่าอาจจะโดนน้ำท่วมถึงได้ หรืออยู่ในพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง จะต้องมีการป้องกันไฟฟ้าดูด โดยใช้เครื่องตัดไฟรั่ว (ตัวกันดูด) ขนาดไม่เกิน 30 มิลลิแอมแปร์ เพื่อป้องกันความปลอดภัยเมื่อใช้งาน
- การติดตั้งตู้เมนไฟฟ้า
ตำแหน่งการติดตู้เมนไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยด้านแบบเดินสายไฟในบ้าน ควรจะต้องติดตั้งอยู่บริเวณชั้นลอย หรือชั้น 2 เพื่อให้ป้องกันความเสี่ยงในกรณีที่บ้านโดนน้ำท่วม จะได้ตัดวงจรไฟฟ้าเฉพาะชั้น 1 ได้ โดยไม่ต้องเสี่ยงโดนไฟดูด
- ระยะความสูงของตู้เมนไฟฟ้าในบ้านชั้นเดียว
ข้อพิจารณาสุดท้ายสำหรับการติดตั้งตู้เมน ในกรณีที่เป็นบ้านชั้นเดียว จะต้องติดตั้งให้อยู่สูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 1.6 เมตร และต้องแยกวงจรสายไฟฟ้าย่อยอย่างน้อย 1 วงจร เพื่อให้สามารถแยกตัดไฟเฉพาะส่วนได้
เข้าใจมาตรฐานการเดินสายไฟเข้าบ้านกันไปแล้ว จะเห็นได้ว่าชนิดของสายไฟมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการเลือกใช้ และถ้าหากคุณไม่รู้จะหาซื้อสายไฟที่ถูกสเป็ก ทั้งยังได้มาตรฐานความปลอดภัยด้านการใช้งานที่ดีได้ที่ไหน ให้มาได้เลยที่ STS Thonburi บริษัทขายส่งสายไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ทั้งยังเป็นตัวแทนจำหน่ายสายไฟของแบรนด์ชั้นนำมากมาย เช่น Thai Union, PKS และ FUHRER ที่นี่เรามีสาย IEC01 (THW) และสายอื่น ๆ สำหรับใช้ภายในบ้านแบบครบวงจร พร้อมบริการจัดส่งให้ทั่วประเทศ
ข้อมูลอ้างอิง
- มาตรฐานงานติดตั้งไฟฟ้าทั่วไป. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2566 จาก http://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_work/MRT09.pdf
- ข้อแนะนำการเดินสายและติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟประเภทที่อยู่อาศัยและธุรกิจขนาดเล็ก. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 จาก https://www.pea.co.th/ความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า/ArtMID/606/ArticleID/759/การเดินสายและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
- การเลือกใช้สายไฟภายในบ้านให้เหมาะสมและปลอดภัย. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566 จาก https://www.builk.com/yello/การเลือกใช้สายไฟภายในบ/